ดิจิไมโคร เปลี่ยนโลกเล็กๆสู่(ข้อมูล)ดิจิตอล
ดิจิไมโคร เปลี่ยนโลกเล็กๆสู่(ข้อมูล)ดิจิตอล
2011
ดิจิไมโคร เป็นคำย่อจาก ดิจิตอล( Camera /Webcam) + ไมโคร(สโคป) ครับ
พูดง่ายๆคือหาทางนำภาพจากกล้องแว่นขยาย หรือกล้องจุลทรรศน์ให้กลายมาเป็นข้อมูลทางดิจิตอล (ภาพ /วิดีทัศน์)
"สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น" เดี๋ยวนี้คงต้องต่อว่า "สิบตาเห็น ไม่เท่า ร้อย/พันตา เห็น"ครับ ข้อดีของการเปลี่ยนภาพให้เป็นข้อมูลทางดิจิตอลก็คือ เราสามารถ"สื่อ"ให้คนอื่น เห็นแบบที่ตาเราเห็นครับ
อยากแบ่งให้บางคนเห็นก็ส่งเป็นไฟล์ภาพ/วิดีทัศน์ให้กัน
ถ้าอยากให้เห็นกันทั้งโลก ก็เอาลง youtube.com ครับ แปร๊บเดียวดูได้ทั่วโลก
ลองดูนะครับ ว่าเมื่อก่อนเราอยากจะเรียนชีววิทยา ก็ต้องเข้าไปในแล็ป หาตัวอย่าง กล้องจุลทรรศน์ ส่องดูให้ผู้รู้อธิบาย... เดี๋ยวนี้
Digi(Tal) Microscope
19/1/2554
ดิจิไมโคร เป็นคำย่อจาก ดิจิตอล( Camera /Webcam) + ไมโคร(สโคป) ครับ
พูดง่ายๆคือหาทางนำภาพจากกล้องแว่นขยาย หรือกล้องจุลทรรศน์ให้กลายมาเป็นข้อมูลทางดิจิตอล (ภาพ /วิดีทัศน์)
"สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น" เดี๋ยวนี้คงต้องต่อว่า "สิบตาเห็น ไม่เท่า ร้อย/พันตา เห็น"ครับ ข้อดีของการเปลี่ยนภาพให้เป็นข้อมูลทางดิจิตอลก็คือ เราสามารถ"สื่อ"ให้คนอื่น เห็นแบบที่ตาเราเห็นครับ
อยากแบ่งให้บางคนเห็นก็ส่งเป็นไฟล์ภาพ/วิดีทัศน์ให้กัน
ถ้าอยากให้เห็นกันทั้งโลก ก็เอาลง youtube.com ครับ แปร๊บเดียวดูได้ทั่วโลก
วิดีทัศน์ ดิจิไมโคร credit คุณ wxfix - youtube
เทคนิคการทำดิจิไมโคร ก็ไม่ได้แตกต่างจากดิจิสโคปแต่อย่างใดครับ อยากได้ภาพก็หากล้องดิจิตอลมา "จ่อ"ถ่าย..
ก่อนจะจ่อถ่ายก็ต้องหา กล้องจุลทรรศน์มาเป็นนายแบบก่อน
อันนี้เป็นกล้องจุลทรรศน์แบบเริ่มต้น (สำหรับนักเรียน /นักศึกษา) ยี่ห้อ C&A Scientist ครับ เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ราคาไม่แพง แต่คุณภาพเลนส์ “คุ้มราคา” ครับ
ว่าแล้วก็เอาแผ่นสไลด์ตัวอย่างที่แถมมากับกล้องจุลทร รศน์วาง ลองส่องดูครับ
อันนี้ บอกว่าเป็น Frog Blood .... แหะ แหะ อย่าถามผมนะฮับ ไม่เคยเรียนชีววิทยากะเขาอ่ะ
เสร็จแล้วก็ทำดิจิจ่อ (เอากล้องดิจิตอลจ่อถ่ายที่เลนส์ตาดู)
เมื่อลองปรับกล้องจุลทรรศน์ให้มีอัตราขยาย 400x ภาพก็จะได้แบบนี้ครับ
เมื่อลองปรับกล้องจุลทรรศน์ให้มีอัตราขยาย 40x ภาพก็จะได้แบบนี้ครับ
คราวนี้เราก็มาทำ ดิจิไมโคร กันนะครับ
วิธีการนึงที่สะดวกคือทำการถอดเลนส์ตาของกล้องจุลทรร ศน์ออกแล้วใส่เจ้า Digital Microscope Imager เข้าไปแทน ซึ่งเจ้า Digital Microscope Imager ก็คือกล้องดิจิตอลเวปแคมนั่นเองครับ แต่ออกแบบให้มีอัตราขยาย 10x เพื่อให้ใส่แทนเลนส์ตากล้องจุลทรรศน์ที่ โดยทั่วไปจะมีอัตราขยาย 10 เท่าครับ
พอเอามาต่อแทนเลนส์ตากล้องจุลทรรศน์แบบนี้
และแล้วก็ทดลองการบันทึกภาพดิจิตอล (หรือจะเป็นวิดีทัศน์) ก็ทำได้อย่างง่ายดายครับ
เริ่มจากการทดสอบการบันทึกภาพ เลือดกบ (Frog Blood)
คราวนี้เอาสไลด์ตัวอย่างของเจ้าตัว พารามีเซียม มาลองบันทึกภาพดูนะครับ
บันทึกภาพที่อัตราขยาย 40 เท่า
บันทึกภาพที่อัตราขยาย 100 เท่า
บันทึกภาพที่อัตราขยาย 400 เท่า
บันทึกภาพที่อัตราขยาย 40 เท่า
บันทึกภาพที่อัตราขยาย 400 เท่า
บันทึกภาพที่อัตราขยาย 100 เท่า
น่าเสียดายที่ทางร้านไม่ได้มีสไลด์ของพาราเซียม หรือสิ่งมีชิวิตขนาดจิ๋วตัวเป็นๆ จึงไม่ได้ทำการบันทึกวิดีทัศน์แล้วเอาลงมาให้ชมกันครับ แต่เจ้า Digital Microscope Imager นี้มีความสามารถทั้งการบันทึกภาพ และบันทึกวิดีทัศน์อย่างแน่นอน